เสริมศักยภาพผู้หญิงในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย เพื่อลดความเปราะบางจากเพศสภาพและการเข้าถึงการสนับสนุน

     ดังนั้น มูลนิธิรักษ์ไทยจึงจัดทำโครงการลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ ขึ้นเพื่อต้องการสร้างเสริมศักยภาพแก่ผู้หญิงที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก โดยทำงานกับแกนนำผู้หญิงใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.มายอ จ.ปัตตานี, อ.ยะหา จ.ยะลา และอ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ในช่วงมิถุนายน 2562- กุมภาพันธ์ 2563 

     การลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในเบื้องต้นมีแนวคิดว่าต้องทำงานผ่านการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิงในด้านความยากจน ความรุนแรงทางเพศ และหรือการติดยาเสพติด และสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ชายในท้องถิ่นในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และพัฒนาช่องทางดิจิตอลเพื่อการเข้าถึงการสนับสนุนต่าง ๆ 

     แม้จะเป็นโครงการระยะสั้นเพียง 1 ปี แต่ “รักษ์ไทย” ก็มีต้นทุนที่ดีในการทำงานอยู่แล้ว นั่นคือเคยทำงานด้านส่งเสริมอาชีพกับผู้หญิงใน 3 อำเภอที่ว่ามา จึงเริ่มต้นทำงานกับกลุ่มผู้หญิงที่คุ้นเคยกันมาก่อนโดยสร้างแกนนำผู้หญิงอำเภอละ 30 คน มีการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำหญิงในประเด็นการลดความรุนแรงต่อผู้หญิงทั้งความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ ประเด็นความยากจน และประเด็นยาเสพติด เพื่อให้แกนนำเหล่านั้นสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการ นำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อกับคนที่รู้จักแบบ 1:10 ชี้ชวนกันวิเคราะห์ว่าในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่นั้นมีปัญหาอะไรที่น่าจะมาแก้ไขร่วมกัน และนำไปสู่การสร้างอาชีพกับผู้หญิง เด็กและเยาวชน

     แต่งานด้านผู้หญิงนั้น ลำพังผู้หญิงลุกขึ้นมาทำฝ่ายเดียว ย่อมไม่มีทางสำเร็จได้โดยง่ายหากไม่ได้รับความร่วมมือหรือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากฝ่ายชายร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยในหัวข้อความเท่าเทียมทางเพศ และการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางเพศกับผู้ชายเช่นกัน

     เพ็ญนภา คงดี ผู้ประสานงานโครงการลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ เล่าถึงว่า เดิมทีเราเคยทำเรื่องส่งเสริมอาชีพกับกลุ่มผู้หญิงอยู่แล้ว เมื่อมาเริ่มโครงการนี้ในบทบาทใหม่ของผู้หญิงให้เป็นผู้ริเริ่มแก้ปัญหาชุมชน พวกเธอจึงเป็นที่ยอมรับ โดยในเรื่องการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นได้แนะนำให้ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เห็นว่ารายรับ-รายจ่ายภายในบ้านใช้ไปในทางใด ปรากฏว่าสิ่งนี้กลายเป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจกับคนในครอบครัว และฝ่ายชายเริ่มเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางเพศที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา

     ส่วนประเด็นเรื่องยาเสพติดนั้น เพ็ญนภาบอกว่ายาเสพติดที่ระบาดในพื้นที่มีทั้งน้ำกระท่อม ยาบ้า และไอซ์ ทางโครงการฯได้อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังคนในครอบครัว คอยสังเกตอาการว่าอย่างไรจึงเรียกว่ามีอาการ “ติด” ขึ้นมาแล้ว เพื่อจะได้ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการในการรักษาผู้ติดยาเสพติดต่อไป

     นอกจากการประชุมสร้างแกนนำผู้หญิง และให้ข้อมูลแก่ผู้ชายท้องถิ่น ใน 3 ประเด็นที่โครงการให้ความสำคัญแล้ว โครงการนี้ยังมีการสร้างช่องทางดิจิตอล รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ในการทำระบบสนับสนุน และมีเฟซบุคเพจสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น ไว้สำหรับการสื่อสารกันเองและต่อบุคคลภายนอกด้วย

โครงการอื่นๆ

She made it ผู้หญิงพลิกฟื้นเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชน

She made it ผู้หญิงพลิกฟื้นเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชน

ดึงศักยภาพและความสนใจเพื่อนำมาประกอบเป็นวิชาชีพเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงที่ถูกตีกรอบด้วยความเชื่อและทัศนคติทางวัฒนธรรม เช่น กลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สูญเสียสามีที่เป็นผู้นำครอบครัวไปกับความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้หรือกลุ่มชาติพันธุ์

เสริมสร้างพลังอำนาจหญิงน่าน

เสริมสร้างพลังอำนาจหญิงน่าน

แม้ภาครัฐจะกำหนดให้เด็กไทยได้รับการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี และโดยภาพรวมแล้วเด็กในเมืองใหญ่ก็ได้รับการศึกษาตามนั้น แต่ในความเป็นจริงคือยังมีเยาวชนหญิงจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนหญิงในจังหวัดน่าน ซึ่งมีอยู่หลากหลายชาติพันธุ์ที่ไม่รู้หนังสือ หรือมีความรู้ไม่เพียงพอต่อทักษะการดำรงชีวิต

สิทธิและโอกาสของแรงงานข้ามชาติสตรี

สิทธิและโอกาสของแรงงานข้ามชาติสตรี

ถ้ามีคนถามคุณว่า “แรงงานข้ามชาติ” หน้าตาเป็นอย่างไร เชื่อว่าภาพแรกที่คนมักจะนึกถึงคือภาพของชายรูปร่างหน้าตากำยำล่ำสัน ทำงานใช้แรงงานอย่างโชกโชน

We Sparkle

We Sparkle

“ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ความข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะให้ทำได้จริงนั้นอาจยากนัก ยิ่งคนในวัยแรงงานโดยเฉพาะแรงงานหญิงยิ่งมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวและดูแลผู้มีพระคุณ ยิ่งทำให้ชีวิตปลอดพ้นจากการเป็นหนี้ได้ไม่ง่ายนัก