กลุ่มประมงพื้นบ้านเกาะเต่าวางซั้งปลา โดยโครงการ BIOFIN UNDP ธนาคารกรุงไทย KohTao Better Together

กลุ่มประมงพื้นบ้านเกาะเต่าวางซั้งปลา โดยโครงการ BIOFIN UNDP ธนาคารกรุงไทย KohTao Better Together

โพสเมื่อ : 3 กุมภาพันธ์ 2565

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มูลนิธิรักษ์ไทย โครงการ BIOFIN UNDP ธนาคารกรุงไทย KohTao Better Together วางซั้งปลา กลุ่มประมงพื้นบ้านเกาะเต่า ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่เกาะเต่า

ซั้ง มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า ฟิช แอกกรีเกทติ้ง ดีไวซ์ (Fish Aggregating Device) เรียกกันย่อๆ ว่า แฟ้ดส์ (FADs) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้ปลามาอยู่รวมกัน ซึ่งมีที่มาจากสิ่งของลอยน้ำต่างๆ โดยมีปลาเล็กปลาน้อยอาศัยร่มเงาอยู่ และจะมีปลาขนาดใหญ่กว่าติดตามหาอาหารไปด้วย

การวางซั้งก็จะเลียนแบบสิ่งของลอยน้ำ โดยใช้วัสดุต่างๆ มาผูกมัดรวมกัน เช่น เศษอวน, เชือกเก่า, ไม้ไผ่ และทางมะพร้าว เหล่านี้เป็นต้น เพียงแต่ซั้งจะถ่วงด้วยก้อนหิน หรือผูกติดกับโขดหินใต้น้ำ ไม่ให้ลอยออกไปจากจุดที่ต้องการ

ซั้ง อาจจะมีส่วนของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำได้น้อยกว่า ปะการังเทียม แต่ซั้งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับกิจกรรมของการตกปลา และอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะกับการทำปลากระป๋อง ซึ่งเขาจะลงทุนทำซั้งเป็นจำนวนมากกลางทะเล เพื่อให้ปลาเล็กเข้าอยู่อาศัย เช่น ปลากุแร, ปลาทูแขก, ปลาสีกุน เป็นต้น แล้วก็จะจับปลาเหล่านั้นส่งโรงงานได้คราวละมากๆ  ปลาเล็กดังกล่าวเป็นอาหารของปลาที่ใหญ่กว่า เช่น ปลาอินทรี, สาก, อีโต้มอญ, กะโทงแทง, กะโทงร่ม เป็นต้น จึงทำให้ซั้งเป็นประโยชน์ต่อวงการตกปลาและการทำประมง