ชีวิตใหม่ในทุกเมล็ดกาแฟ: กาแฟทีเกะคีของเลอาร์

โพสเมื่อ : 1 ตุลาคม 2567

ชีวิตใหม่ในทุกเมล็ดกาแฟ: กาแฟทีเกะคีของเลอาร์

ชีวิตใหม่ในทุกเมล็ดกาแฟ: กาแฟทีเกะคีของเลอาร์

เลอาร์ เอเนตร มาธุสรสวรรค์ หญิงปกากะญอ วัย 34 ปี และคุณแม่ของลูก 2 คน ผู้เคยสูญเสียไร่กาแฟ 500 ต้นจากไฟป่า ปัจจุบันเธอมีไร่กาแฟเล็ก ๆ ที่แม่ของเธอเป็นเจ้าของ เธอใช้ประสบการณ์การคัดกาแฟมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเลี้ยงดูลูกในช่วงวิกฤตโควิด-19 เลอาร์เข้าร่วมโครงการของมูลนิธิรักษ์ไทย ที่สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และบรรจุภัณฑ์ จนได้ผลิตภัณฑ์กาแฟคั่ว "ทีเกะคี" ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตที่ใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเก็บเมล็ด หมัก สี และตากเมล็ดไปจนถึงการคั่ว ลวดลายบนตราสินค้ามาจากลายผ้าทอ "เชซู" ปักรูปดวงอาทิตย์และดอกไม้ พื้นสีดำเป็นสัญลักษณ์ของความรับผิดชอบในชีวิตของเลอาร์ในฐานะภรรยาและแม่ เลอาร์ดูแลครอบครัวด้วยความซื่อสัตย์และความละเอียดอ่อน เช่นเดียวกับการคัดสรรเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ กาแฟทีเกะคี คือเรื่องราวของการฟื้นฟูชีวิตจากความยากลำบาก และความตั้งใจในการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพเพื่อผู้บริโภคทุกคน

เรื่องราวอื่นๆ

ผู้หญิงมีหน้าที่แค่เลี้ยงลูก ?

ผู้หญิงมีหน้าที่แค่เลี้ยงลูก ?

แต่เดิมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์มะลิ ผู้หญิงเวลาแต่งงาน ฝ่ายชายจะมีสิทธิ์เลือกคู่ครอง โดยที่ฝ่ายหญิงจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ตาม...

การเปลี่ยนแปลงความคิดที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำ

การเปลี่ยนแปลงความคิดที่ก้าวสู่การเป็นผู้นำ

จากความพยายามตั้งแต่เริ่มต้น ได้พิสูจน์ให้ทุกคนเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายก็สามารถเป็นผู้นำได้หมด ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราว่าเราจะตั้งใจทำขนาดไหน

ขยะทะเลปัญหาสำคัญของคนเกาะเต่า

ขยะทะเลปัญหาสำคัญของคนเกาะเต่า

คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกาะเต่า ในฐานะจุดดำน้ำระดับโลก หาดตามเว้าอ่าวที่มีอยู่รอบเกาะเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำ อ่าวลึกเป็นอ่าวที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะเต่า เป็นจุดดำน้ำปะการังน้ำตื้น ที่มีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักกันดี

กลุ่มวิสาหกิจ หมู่บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

กลุ่มวิสาหกิจ หมู่บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

ชุมชนชาวลัวะ บนสันเขา บ้านก่อก๋วง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบและพื้นที่ภูเขา หรือเชิงเขาที่ระดับความสูง 600-1,200 เมตรจากระดับน้ำ ได้อาศัยผืนป่าและตั้งรกรากในพื้นที่แห่งนี้มานาน จนถึงปัจจุบันเป็นพื้นที่อนุรักษ์ติดเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา