ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.นครศรีธรรมราช

แหล่งเรียนรู้เด็กข้ามชาติ จ.นครศรีธรรมราช

     พื้นที่ในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาชีพของชาวบ้านในชุมชนที่นี่จึงเป็นการจับสัตว์น้ำในทะเล และใช้แรงงานในอุตสาหกรรมประมง ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติหลากหลายสัญชาติเดินทางเข้ามาใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ทั้งที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่ขึ้นทะเบียน ยังไม่นับรวมแรงงานจากเรือประมงจังหวัดอื่น ๆ ที่เดินทางนำเรือมาขึ้นปลาที่แพในอำเภอขนอม จากการสำรวจพบว่าแรงงานที่ปักหลักสร้างครอบครัวในพื้นที่ อำเภอขนอม มีผู้ติดตามเป็นเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ไม่ต่ำกว่า 200 คน ซึ่งเป็นเด็กที่มาจากประเทศต้นทางและมาเกิดในประเทศไทย

"เพราะเด็กทุกคนควรได้รับสิทธิ์ในการศึกษา ร่วมสร้างโอกาสให้แก่เด็กข้ามชาติที่ไร้โอกาส เงิน 400 บาทของคุณคือทุนการศึกษาสำหรับเด็ก 1 คน"


บรรยายภาพ : ภาพเจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทยเป็นอาสาสมัครมาสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กนักเรียนในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ ฯ

      มูลนิธิรักษ์ไทยเริ่มดำเนินการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัยมาในปี 2548 โดยในปีแรกมีเด็กเข้ารับการศึกษาจำนวน 80 คน แต่จำนวนเด็กที่เข้ารับการศึกษากลับลดลงเรื่อย ๆ ในปีต่อ ๆ มา ปัจจุบันเหลือเด็กที่อยู่ในความดูแล 25 คน เนื่องจากปัญหาค่าแรงของผู้ปกครองค่อนข้างต่ำ ทำให้ค่าใช้จ่ายในแต่ล่ะเดือนไม่เพียงพอ จึงไม่มีกำลังส่งลูกหลานเรียนหนังสือต่อได้ เป็นสาเหตุทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา เด็กบางคนต้องเข้าสู่กระบวนการใช้แรงงานเร็วกว่าวัยอันควร สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพราะสถานที่ทำงานแพปลาไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก อีกทั้งความเสี่ยงเมื่อเด็กต้องอยู่ห้องแถวในแพเพียงลำพังคนเดียว อาจมีโอกาสในการถูกละเมิดทางเพศหรือถูกทำร้ายได้
     
   อย่างน้อยที่สุด ศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัย จึงเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กได้รวมตัวกันทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯที่เสริมศักยภาพ เพิ่มทักษะชีวิตแก่เด็กๆ สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของชุมชนแรงงานข้ามชาติที่มีโอกาสได้เรียนน้อย หากเมื่อวันหนึ่งเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาในระบบจะสามารถปรับตัวและสามารถเรียนต่อได้ หรือหากเติบโตในประเทศไทยก็จะมีทักษะชีวิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

บรรยายภาพ :  น้องนูนูวิง เด็กนักเรียนหญิงที่เป็นเด็กที่อายุน้อยที่สุดในศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติ ฯ กำลังฝึกเขียนตัวอักษรภาษาพม่า

“ทิ้งฝันตัวเอง สานต่อให้น้องทั้ง 2 คน”

     คือ เรื่องราวของ น้องยี่สิบ อดีตนักเรียนศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัย เมื่อครั้งโครงการฟ้ามิตร 1 (พ.ศ. 2552) จากเด็กที่เคยวาดฝันไว้ว่า จะตั้งใจเรียนพื่อให้การศึกษาเป็นบันไดที่ทำให้เขาหลุดพ้นจากการใช้แรงงาน ไม่ต้องถูกใช้แรงงานเหมือนพ่อกับแม่ สุดท้ายความฝันของน้องยี่สิบก็พังลง น้องยี่สิบกลายเป็นเสาหลักของครอบครัวในวัย 16 ปี ต้องออกจากระบบการศึกษามาทำงานหาเช้ากินค่ำ ดูแลน้องทั้ง 2 คน (สามสิบและน้ำอ้อย) แทนพ่อที่ทอดทิ้งไปมีครอบครัวใหม่และแม่ที่ด่วนจากไป บันไดที่ใช้ข้ามกำแพงของตัวเองถูกยุติไว้เพียงเท่านี้ แต่บันไดของน้องอีก 2 คนยังสามารถทอดได้ยาวกว่าและน่าจะดีกว่าตัวเขา แม้การใช้แรงงานจะเป็นงานที่ไม่น่าพิศมัยนักแต่ยี่สิบกลับทำงานอย่างขยันขันแข็งเพื่อดูแลสามสิบและน้ำอ้อย พร้อมกับการมอบความรักและห่วงใยแทนพ่อแม่ให้แก่ทั้งคู่

     สามสิบและน้ำอ้อยได้เข้ามาเรียนศูนย์การเรียนรู้เด็กข้ามชาติตามอัธยาศัยตามที่พี่ชายหวังไว้ ปัจจุบันน้ำอ้อยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนระบบของรัฐจากการช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและน้ำพักน้ำแรงของยี่สิบ

บรรยายภาพ : ภาพการรวมกลุ่มทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์

เป้าหมายของเรา

1.เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติเข้าถึงการศึกษาในศูนย์เรียนรู้ทางเลือกในชุมชนใกล้ที่พักแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้เด็กมีความรู้ความสามารถ มีทักษะชีวิตในการปกป้องตนเองไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ ได้เรียนรู้ถึงการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนและได้รับความช่วยเหลือตามกระบวนการยุติธรรม
2. เด็กมีพื้นที่ปลอดภัย มีศูนย์กลางในการมาพบกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
3.เพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สามารถจัดการเรียนการสอนตามระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสามารถกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนแบบทางเลือกตามบริบทของสังคมและวิถีชีวิตของชาวเมียนมาร์ได้อย่างยั่งยืน โดยผู้ปกครองเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนหลักสูตรทางเลือก
4. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ท้องถิ่น นายจ้าง ผู้ประกอบการ โรงเรียนในระบบการศึกษาไทยตระหนักถึงความสำคัญและส่งเสริมการมีอยู่ของศูนย์การเรียนรู้เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติอย่างยั่งยืน ลดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

โครงการอื่นๆ

ศูนย์เรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.ปัตตานี

ศูนย์เรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.ปัตตานี

เด็ก ๆ มีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา อันเป็นสิทธิพื้นฐานของเด็กทุกคนเมื่อเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กเชื้อชาติ สัญชาติไหนหรืออาศัยอยู่ที่แห่งใดบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ๆ ลูกแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย พวกเขา/เธอก็มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่การเข้าถึงการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร

ช่วงเวลาเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการของระบบเศรษฐกิจไทย เป็นจำนวนมาก มูลนิธิรักษ์ไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ให้ตระหนักถึงสิทธิของตน โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ผ่านหลากหลายโครงการ

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย และเมื่อพิจารณาข้อมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน(จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม) พบว่าประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปีมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่ปลอดภัย/ไม่ป้องกัน

ยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

ยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

“บูลลี่” (bully) คำศัพท์ภาษาฝรั่งที่คนไทยเริ่มใช้ทับศัพท์กันในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยเฉพาะทางสื่อสังคมออนไลน์ “โซเชียลมีเดีย” มีการพูดถึง “ไซเบอร์บูลลี” หรือการรังแกกันผ่านทางโซเชียลมีเดีย กันมากขึ้น แต่การรังแกทางกายภาพ ต่อหน้าต่อตานั้น ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น้อยไปกว่ากัน