Empowering Women Affected by Conflict to Reduce their Gender-Related Vulnerability and Access Support in Deep South Provinces of Thailand

     ดังนั้น มูลนิธิรักษ์ไทยจึงจัดทำโครงการลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ ขึ้นเพื่อต้องการสร้างเสริมศักยภาพแก่ผู้หญิงที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก โดยทำงานกับแกนนำผู้หญิงใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.มายอ จ.ปัตตานี, อ.ยะหา จ.ยะลา และอ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ในช่วงมิถุนายน 2562- กุมภาพันธ์ 2563 

     การลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในเบื้องต้นมีแนวคิดว่าต้องทำงานผ่านการเสริมสร้างศักยภาพผู้หญิงในด้านความยากจน ความรุนแรงทางเพศ และหรือการติดยาเสพติด และสร้างจิตสำนึกแก่ผู้ชายในท้องถิ่นในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และพัฒนาช่องทางดิจิตอลเพื่อการเข้าถึงการสนับสนุนต่าง ๆ 

     แม้จะเป็นโครงการระยะสั้นเพียง 1 ปี แต่ “รักษ์ไทย” ก็มีต้นทุนที่ดีในการทำงานอยู่แล้ว นั่นคือเคยทำงานด้านส่งเสริมอาชีพกับผู้หญิงใน 3 อำเภอที่ว่ามา จึงเริ่มต้นทำงานกับกลุ่มผู้หญิงที่คุ้นเคยกันมาก่อนโดยสร้างแกนนำผู้หญิงอำเภอละ 30 คน มีการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำหญิงในประเด็นการลดความรุนแรงต่อผู้หญิงทั้งความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ ประเด็นความยากจน และประเด็นยาเสพติด เพื่อให้แกนนำเหล่านั้นสามารถเป็นวิทยากรกระบวนการ นำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อกับคนที่รู้จักแบบ 1:10 ชี้ชวนกันวิเคราะห์ว่าในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่นั้นมีปัญหาอะไรที่น่าจะมาแก้ไขร่วมกัน และนำไปสู่การสร้างอาชีพกับผู้หญิง เด็กและเยาวชน

     แต่งานด้านผู้หญิงนั้น ลำพังผู้หญิงลุกขึ้นมาทำฝ่ายเดียว ย่อมไม่มีทางสำเร็จได้โดยง่ายหากไม่ได้รับความร่วมมือหรือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากฝ่ายชายร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยในหัวข้อความเท่าเทียมทางเพศ และการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางเพศกับผู้ชายเช่นกัน

     เพ็ญนภา คงดี ผู้ประสานงานโครงการลดช่องว่างผู้หญิงและเด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้ เล่าถึงว่า เดิมทีเราเคยทำเรื่องส่งเสริมอาชีพกับกลุ่มผู้หญิงอยู่แล้ว เมื่อมาเริ่มโครงการนี้ในบทบาทใหม่ของผู้หญิงให้เป็นผู้ริเริ่มแก้ปัญหาชุมชน พวกเธอจึงเป็นที่ยอมรับ โดยในเรื่องการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นได้แนะนำให้ทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เห็นว่ารายรับ-รายจ่ายภายในบ้านใช้ไปในทางใด ปรากฏว่าสิ่งนี้กลายเป็นเครื่องมือที่สร้างความเข้าใจกับคนในครอบครัว และฝ่ายชายเริ่มเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานทางเพศที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา

     ส่วนประเด็นเรื่องยาเสพติดนั้น เพ็ญนภาบอกว่ายาเสพติดที่ระบาดในพื้นที่มีทั้งน้ำกระท่อม ยาบ้า และไอซ์ ทางโครงการฯได้อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังคนในครอบครัว คอยสังเกตอาการว่าอย่างไรจึงเรียกว่ามีอาการ “ติด” ขึ้นมาแล้ว เพื่อจะได้ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการในการรักษาผู้ติดยาเสพติดต่อไป

     นอกจากการประชุมสร้างแกนนำผู้หญิง และให้ข้อมูลแก่ผู้ชายท้องถิ่น ใน 3 ประเด็นที่โครงการให้ความสำคัญแล้ว โครงการนี้ยังมีการสร้างช่องทางดิจิตอล รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่นออนไลน์ในการทำระบบสนับสนุน และมีเฟซบุคเพจสำหรับเครือข่ายท้องถิ่น ไว้สำหรับการสื่อสารกันเองและต่อบุคคลภายนอกด้วย

โครงการอื่นๆ

She made it

She made it

” project aims to empower women who face restrictions and have limited power, voice and choice to have skills, resources, and opportunities to compete in markets and gain power to control and benefit from economic gains.

Nan Province Women’s Empowerment

Nan Province Women’s Empowerment

Nan, one of Thailand’s seventy six provinces lies in upper Northern Thailand and is host to many different ethnic minority groups. Majority of these members are barely literate and have insufficient knowledge to get ahead in life.

Rights and Opportunities for Female Migrant Workers

Rights and Opportunities for Female Migrant Workers

If someone asked you what a “migrant worker” looks like, most people will think of a strong man who works in a labor-intensive job.

We Sparkle

We Sparkle

“ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” ความข้อนี้ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะให้ทำได้จริงนั้นอาจยากนัก ยิ่งคนในวัยแรงงานโดยเฉพาะแรงงานหญิงยิ่งมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวและดูแลผู้มีพระคุณ ยิ่งทำให้ชีวิตปลอดพ้นจากการเป็นหนี้ได้ไม่ง่ายนัก