ยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย

     “บูลลี่” ตรงกับภาษาไทยว่าอย่างไร  ถ้าหากเราไม่สามารถนิยามหรือเรียกชื่อปัญหานั้นได้ เราจะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสิ่งนั้นได้ไหม  หากจะกล่าวอย่างรวบรัด คำว่า “บูลลี่” นั้น น่าจะตรงกับคำว่า “รังแก” ในภาษาไทย ซึ่งถ้าตกลงกันได้อย่างนี้แล้ว ก็เห็นจะมีทางที่เราจะหาหนทางแก้หรือลดปัญหาเพื่อเดินทางต่อไปได้

     จากข้อมูลกรมสุขภาพจิต ปี 2553 พบว่ามีเด็กไทยกว่า 600,000 คนเคยถูกรังแก หรือคิดเป็น 40 % ของเด็กทั้งหมดที่อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งเป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ของโลกเมื่อกล่าวเฉพาะเจาะจงลงไปในเรื่องการรังแกทางออนไลน์  โดยพบว่ามีการรังแกเด็กในระดับประถมศึกษามากที่สุด เมื่อเทียบกับระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ปัญหาการรังแกที่เกิดขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มวงจรที่มีการรังแกมากที่สุด

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย จึงได้ทำงานร่วมกันภายใต้โครงการ นักเรียนก้าวทันยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย (9 ธันวาคม 2562 – 8 ธันวาคม 2563) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสมมติฐานว่า เด็ก ๆ จะเกิดการสร้างค่านิยมที่แยกแยะความแตกต่างและเกิดทัศนคติ ชอบ ไม่ชอบ รัก รังเกียจ ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งส่วนสำคัญอันหนึ่งคือการเสพสื่อรอบตัว ที่เน้นการสร้างการรังเกียจ และการรังเกียจ อันรวมทั้งความคิด วาจา และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เกลียดชัง อันนำไปสู่การรังแก  ค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้จะขยายผลในโรงเรียนและถ่ายทอดในสื่อออนไลน์ในที่สุด

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย จึงได้ทำงานร่วมกันภายใต้โครงการ นักเรียนก้าวทันยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย (9 ธันวาคม 2562 – 8 ธันวาคม 2563) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสมมติฐานว่า เด็ก ๆ จะเกิดการสร้างค่านิยมที่แยกแยะความแตกต่างและเกิดทัศนคติ ชอบ ไม่ชอบ รัก รังเกียจ ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งส่วนสำคัญอันหนึ่งคือการเสพสื่อรอบตัว ที่เน้นการสร้างการรังเกียจ และการรังเกียจ อันรวมทั้งความคิด วาจา และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เกลียดชัง อันนำไปสู่การรังแก  ค่านิยมและพฤติกรรมเหล่านี้จะขยายผลในโรงเรียนและถ่ายทอดในสื่อออนไลน์ในที่สุด

     งานนี้จะมีรายงานการวิจัยสถานการณ์ล้อแกล้งกันในโรงเรียนและในโลกออนไลน์ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนที่เน้นประเด็นรู้เท่าทันสื่อ สามารถเชื่อมโยงวงจรการรังแกในโรงเรียนอันเป็นเหตุของการรังแกบนโลกออนไลน์ได้ พร้อมทั้งมีคู่มือผลิตการพัฒนาสื่อที่ดี ที่สร้างสรรค์ประกอบด้วย วิธีการผลิตคลิปวิดีโอ การผลิตเกมที่สร้างสรรค์ และการผลิตแอพพลิเคชั่น

     ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากทำโครงการ นักเรียนยุติการรังแกในโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย แก่โรงเรียนแกนนำ 50 โรง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้รายงานผลการวิจัยสถานการณ์ล้อแกล้งรังแกกันในโรงเรียนและในโลกออนไลน์  ได้พัฒนาระบบ อีเลิร์นนิ่งสำหรับนักเรียน และสำหรับครู ได้คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาปลอดภัย และคู่มือจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน รู้ทันสื่อและการผลิตสื่อที่ดีสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในทุกโรงเรียนทั่วประเทศ 29,715 โรง ทั้งในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาต่อไป

โครงการอื่นๆ

สร้างอนาคตเด็กไทย: ก้าวไปด้วยกันกับมูลนิธิรักษ์ไทย

สร้างอนาคตเด็กไทย: ก้าวไปด้วยกันกับมูลนิธิรักษ์ไทย

“เพราะเด็ก คือ คนที่จะขับเคลื่อนสังคมต่อไป” มูลนิธิรักษ์ไทย มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพเด็ก ให้มีความรู้ ทักษะ และเสริมสร้างภาวะผู้นำ เราจะสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน และ สร้างอนาคตที่ดีของสังคมต่อไป

Migtant Children Development

Migtant Children Development

เด็ก ๆ มีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนา อันเป็นสิทธิพื้นฐานของเด็กทุกคนเมื่อเกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กเชื้อชาติ สัญชาติไหนหรืออาศัยอยู่ที่แห่งใดบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่เด็ก ๆ ลูกแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย พวกเขา/เธอก็มีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาเช่นเดียวกัน แต่การเข้าถึงการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร

ศูนย์การเรียนรู้ลูกแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร

ช่วงเวลาเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา แรงงานข้ามชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการของระบบเศรษฐกิจไทย เป็นจำนวนมาก มูลนิธิรักษ์ไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ ให้ตระหนักถึงสิทธิของตน โดยได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ผ่านหลากหลายโครงการ

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

ส่งเสริมความรู้อนามัยเจริญพันธุ์ในนักศึกษา กศน.

สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย และเมื่อพิจารณาข้อมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน(จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม) พบว่าประชากรอายุระหว่าง 15-24 ปีมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกไม่ปลอดภัย/ไม่ป้องกัน