ร่วมแบ่งปัน “น้ำใจ” ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุ “โนรู”

Publication Date : September 19, 2022

จากสถานการณ์พายุโนรู เคลื่อนตัวเข้าไทยในช่วงเย็นวันที่ 28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา  ส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและวาตภัยในพื้นที่ภาคอีสาน แม้ปัจจุบันพายุจะอ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชัน แต่ยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย  ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ รวมไปถึงพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่บนดอยสูงในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักต่อเนื่อง จนเกิดน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ เช่น อ.อมก๋อย อ.กัลยาณิวัฒนา อ.แม่แจ่ม
ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานสำคัญในการทำงานพัฒนาของมูลนิธิรักษ์ไทย

 

1.ขาดแคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค

จากสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่สูงทำให้ท่อน้ำประปาภูเขา ที่หล่อเลี้ยงคนในหมู่บ้านได้รับ ความเสียหาย การช่วยเหลือที่ดำเนินการไปแล้วเบื้องต้นคือ ซ่อมแซมระบบเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ยังขาดงบประมาณที่มียังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาที่ครอบคลุม

2.บูรณะซ่อมแซมฝายที่ใช้ในการกับเก็บน้ำสำหรับการเกษตร

เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงผลผลิตกำลังเติบโต ต้นข้าวที่ตั้งท้องต้องการน้ำในการทำการเกษตร เมื่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก ทำให้เหมืองและฝายในชุมชนได้รับความเสียหาย ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ จึงต้องการงบประมาณสนับสนุนการบูรณะซ่อมแซมฝายและสร้างใหม่ในหลายชุมชน

มูลนิธิรักษ์ไทยขอเชิญชวนท่าน
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากพายุโนรู

 “กองทุนเพื่อการรับมือกับภัยพิบัติอย่างยั่งยืน”
เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ทำงานของรักษ์ไทย

ชื่อบัญชี มูลนิธิรักษ์ไทย
เลขที่ 056-2-21065-4


ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ซอยอารีย์สัมพันธ์
[ทุกการช่วยเหลือสามารถลดหย่อนภาษีได้]

อัพเดทสถานการณ์การแก้ปัญหาหลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม อ.กัลยาณิวัฒนา และ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 กันยายน 2565)

 1. การแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน 
ขณะนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ ได้เข้าช่วยเหลือเบื้องต้น โดยการทำความสะอาดพื้นที่ วางแผนซ่อมแซมสะพานที่ขาด และซ่อมฝายแบบชั่วคราวโดยใช้ท่อพีวีซี เพื่อให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้กับนาข้าวได้ในระยะนี้

2. การแก้ปัญหาแบบระยะยาว 
อยู่ในกระบวนการนัดหารือ เพื่อวางแผนการซ่อมแซมฝาย  ฟื้นฟูเหมืองในช่วงฤดูแล้งปี 2566 รวมถึงการซ่อมบริเวณริมถนนด้วยคอนกรีตเพื่อป้องกันการพังทลายที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
 
โดยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นหลังประสบอุทกภัย ถือเป็นกรณีศึกษาสำหรับชุมชน หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ และภาคประชาสังคม ที่จะหาทางตั้งรับและป้องกันเพื่อบรรเทาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกต่อไป

รายงานสถานการณ์น้ำท่วมและผู้ประสบภัย จ.อุบลราชธานี (ข้อมูลเดือนตุลาคม 2565)

     ทีมงานมูลนิธิรักษ์ไทย จ.อุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่นับตั้งแต่ฝนตกหนักในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยนายนุ (ผู้ใหญ่บ้าน) ชุมชนบ้านท่ากกแห หมู่ 8 ต. แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า
     “วันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา ฝนตกทั้งวัน ก็คิดว่าจะไม่รุนแรง ตกเย็นฝนไม่หยุด ผมจึงประกาศหอกระจ่ายข่าว  ให้ลูกบ้านที่ติดริมน้ำเตรียมตัว ต่อมาวันที่ 29 -30 กันยายน ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ไหลล้นตลิ่งเข้าชุมชน ชาวบ้านจึงขนของเตรียมไปไว้ที่สูง ดูสถานการณ์แล้วคิดว่าหนักและสูงพอๆกับที่เคยเกิดขึ้นปี 2562”
     ทั้งนี้ชุมชนบ้านท่ากกแห่ เป็นชุมชนชานเมืองที่ตั้งริมแม่น้ำมูล มีประชากรทั้งสิ้น 83 หลังคาเรือน ประชากร 296 คน ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีฝนหนักติดกันหลายวัน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมูลเริ่มสูงขึ้น และมีบางจุดเริ่มล้นตลิ่ง  โดนเฉพาะช่วงที่พายุโนรูเข้ามา ทำให้ปริมาณน้ำฝนไหลลงสู่ลำน้ำสาขามากขึ้น  เช่น ลำน้ำเสียวไหลลงสู่แม่น้ำมูล ลำน้ำยัง  ลำเซบายไหลลงสู่แม่น้ำชี แล้วไหลมารวมกันที่ อ.เมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำมูลทั้ง 2 ฝั่ง บางจุดมีระดับน้ำสูงอยู่ที่ 1 - 3  เมตร
สำหรับบริเวณชุมชนบ้านท่ากกแห่ ระดับน้ำท่วมสูงถึง 2 เมตรประชาชนได้ขนย้ายสิ่งของไว้บนชั้น 2 ของบ้านและมาอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิง 2 จุด
จุดที่ 1 วัดท่ากกแห่ 
จุดที่ 2 พื้นที่เอกชนข้างถนนรอบเมืองทาง
     แม้เทศบาลแจระแม ได้นำเต็นท์มาติดตั้งเพิ่มเติมแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือ ผู้อพยพบางส่วนจึงก่อสร้างที่พักขึ้นเอง โดยขณะนี้มีจำนวนผู้อพยพที่ต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 102 คน จาก 59 ครอบครัว โดยมีครอบครัวเปราะบาง 3 ครอบครัว และผู้ทุพพลภาพ 4 คน (ประกอบด้วยผู้พิการทางสายตา 1 คน ทางร่างกาย 1 คน ทางสมอง 1 คน และเป็นผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียง 1 คน)

     สถานการณ์การช่วยเหลือล่าสุด เทศบาลแจระแม ได้จัดส่งน้ำอุปโภค บริโภค รวมถึงอาหารสัตว์สำหรับโคและกระบือมาให้ มีหน่วยงานเอกชนนำน้ำดื่มมามอบให้ 2 ครั้ง และมีผู้ใจบุญนำอาหารกล่องมาแจกให้ในศูนย์พักพิง 3 ครั้ง โดยการเดินทางเข้าออกบริเวณจุดพักพิงจะมีเรือบริการและรถทหาร คอยรับส่ง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านของอุปโภค บริโภค แม้ว่าระดับน้ำจะลดต่ำลงไปบ้างแล้ว
 

ที่มาข้อมูล : มูลนิธิรักษ์ไทย จ.อุบลราชธานี

Other Campaign

บริจาคมูลนิธิรักษ์ไทย เพื่อช่วยเหลือภัยน้ำท่วม

ถึงน้ำจะลดลงไปในบางส่วนแล้วแต่ความเสียหายที่ได้รับยังต้องการความช่วยเหลือ ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้บ้านเรือนเสียหาย ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างหนัก เจ้าหน้าที่ #มูลนิธิรักษ์ไทย เร่งช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างเต็มกำลัง มูลนิธิรักษ์ไทย ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ชื่อบัญชี มูลนิธิรักษ์ไทย ธนาคาร กสิกรไทย เลขที่บัญชี 799-2-50785-8

Promoting Positive Mental Health in Thai Youth

The Community Development Foundation, in collaboration with Raks Thai Foundation, is committed to tackling the challenges and promoting positive mental health among Thai youth.

รักษ์ไทยชวนคุณสร้างกุศลพลิกชีวิตปี ‘66 สมทบทุน 99บาท พัฒนาผู้หญิงถิ่นห่างไกล

สนับสนุนการพัฒนา 6 ขั้น เพื่อสร้างความเท่าเทียมของสตรีในถิ่นห่างไกล” จึงเริ่มต้นขึ้นเพื่อขอแรงสนับสนุนจากคนทุกเพศในเขตเมือง ที่ยืนหยัดเพื่อสร้างความเท่าเทียมในสังคม เงิน 99 บาทจากหลากผู้สนับสนุนจะเป็นท่อน้ำเลี้ยงที่สามารถพลิกชีวิตผู้หญิงในถิ่นห่างไกลที่ไม่ได้มีโอกาสทัดเทียมคนเมือง

#Sheisme International Women's Day 2023

#Sheisme แคมเปญที่จะอยู่เคียงข้างผู้หญิงทุกคนให้ผ่านทุกเรื่องราวในชีวิต สนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนภูมิใจในตัวเองที่ผ่านทุกเรื่องราวมาได้ สนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนค้นหาตัวเองและเป็นคนที่คุณอยากจะเป็น